Monday, March 31, 2008

อ่าวไทย

อ่าวไทย เป็นอ่าวที่อยู่ในทะเลจีนใต้ (มหาสมุทรแปซิฟิก) ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม จุดเหนือสุดของอ่าวไทย ตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่า อ่าวประวัติศาสตร์ รูปตัว ก. (ต่างชาติเรียกว่า อ่าวกรุงเทพฯ) อ่าวไทยมีพื้นที่ 300,858.76 ตารางกิโลเมตร [1] เขตแดนของอ่าวไทยกำหนดด้วยเส้นที่ลากจากแหลมกาเมา (แหลมญวน) ทางตอนใต้ของเวียดนาม ไปยังเมืองโกตาบารูในชายฝั่งมาเลเซีย ซึ่งอยู่ห่างกัน 381 กิโลเมตร
ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยทอดยาว 1,840 กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 45 เมตร ซึ่งถือว่าตื้นมาก จุดที่ลึกที่สุดลึกเพียง 80 เมตร จึงทำให้การแลกเปลี่ยนระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็มเป็นไปอย่างเชื่องช้า น้ำจืดจำนวนมากที่ไหลมาจากแม่น้ำต่างๆ ทำให้น้ำทะเลในอ่าวไทยมีระดับความเค็มต่ำ (3.05-3.25%) และมีตะกอนสูง บริเวณที่ลึกกว่า 50 เมตร มีความเค็มสูงกว่านี้ (3.4%) ซึ่งเกิดจากน้ำทะเลที่ไหลเข้ามาจากทะเลจีนใต้ แม่น้ำสายหลักที่น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา (รวมแม่น้ำท่าจีน ที่แยกสาขาออกมา) แม่น้ำแม่กลองที่ไหลลงสู่อ่าวแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม และแม่น้ำตาปีที่ไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี
น้ำอุ่นในอ่าวไทย ทำให้เกิดแนวปะการังที่สวยงาม สถานที่ดำน้ำที่ได้รับความนิยม เช่น เกาะสมุยและเกาะเต่าใน จ.สุราษฎร์ธานี ทรัพยากรธรรมชาติที่พบในอ่าวไทย คือ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ
ฤดูปิดอ่าว
ทุกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 15 พฤษภาคม ของทุกปี อันเป็นช่วงที่สัตว์น้ำเศรษฐกิจโดยเฉพาะปลาทูและสัตว์น้ำอื่น ๆ วางไข่ เลี้ยงตัวในวัยอ่อนและเจริญเติบโต เป็นฤดูปิดอ่าว กรมประมงจะประกาศควบคุมการทำประมงตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร และ จ.สุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร[2] การประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวนี้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ถ้าชาวประมงรายใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

มหาวิทยาลัยแห่งเอเชีย

มหาวิทยาลัยแห่งเอเชีย (อังกฤษ: Asian University - Asian U) หรือเดิมชื่อ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian University of Science and Technology - Asian UST) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ห่างจากพัทยาประมาณ 25 กิโลเมตร
เปิดสอนทั้งระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษาใน 3 คณะ คือ คณะธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะศิลปศาสตร์ โดยการเรียนการสอนทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ

อำเภอบางละมุง

อำเภอบางละมุง คืออำเภอหนึ่งในจังหวัดชลบุรี มีพื้นที่รวมประมาณ 727 ตารางกิโลเมตร หรือ 469,021 ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 60 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จะมีศาสนาอื่นบ้างเป็นกลุ่มย่อย
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอบางละมุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกกเฉียงใต้ของจังหวัด ห่างจากอำเภอเมืองชลบุรีไปทางใต้ประมาณ 45 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ 142 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอศรีราชา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปลวกแดง อำเภอนิคมพัฒนา และอำเภอบ้านฉาง (จังหวัดระยอง)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสัตหีบ
ทิศตะวันตก จรดอ่าวไทย
ประวัติ
อำเภอบางละมุงแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองบางละมุง ตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุง ตำบลบางละมุง จนถึงปี พ.ศ. 2544 ได้ยุบเมืองบางละมุงเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชลบุรี โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณริมคลองนกยาง ซึ่งขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นท่าน้ำที่สำคัญทั้งทางด้านการคมนาคมและเป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าต่าง ๆ ต่อมาคลองนกยางตื้นเขินไม่สะดวกต่อเรือสินค้าต่าง ๆ จะล่องเข้าออก ทั้งสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะขยายชุมชนให้กว้างขวาง นายอำเภอสมัยนั้น คือ นายเจิม (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัตยานุกูล) จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ใหม่บริเวณริมทะเลในตำบลนาเกลือ เมื่อ พ.ศ. 2452
ในปี พ.ศ. 2480 ทางราชการได้แบ่งแยกพื้นที่ตำบลสัตหีบเป็นกิ่งอำเภอขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอบางละมุง จนถึงปี พ.ศ. 2496 จึงยกฐานะกิ่งอำเภอสัตหีบขึ้นเป็นอำเภอสัตหีบ แยกออกไปจากอำเภอบางละมุงโดยสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2495 เกิดวาตภัยร้ายแรง ตัวอาคารที่ว่าการอำเภอพังเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ จึงได้ย้ายไปตั้งที่ทำการชั่วคราวที่โรงเรียนบางละมุง ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ต่อมา พ.ศ. 2496 ทางราชการได้อนุมัติเงินงบประมาณให้สร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่บริเวณใกล้ ๆ กับโรงเรียนบางละมุงนั้นเอง และได้ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการจนทุกวันนี้
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอบางละมุงแบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 61 หมู่บ้าน
1.
บางละมุง
(Bang Lamung)
2.
หนองปรือ
(Nong Prue)
3.
หนองปลาไหล
(Nong Pla Lai)
4.
โป่ง
(Pong)
5.
เขาไม้แก้ว
(Khao Mai Kaeo)
6.
ห้วยใหญ่
(Huai Yai)
7.
ตะเคียนเตี้ย
(Takhian Tia)
8.
นาเกลือ
(Na Kluea)
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอบางละมุงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
เทศบาลเมืองหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองปรือ
เทศบาลตำบลแหลมฉบัง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางละมุง
เทศบาลตำบลบางละมุง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางละมุง บางส่วนของตำบลหนองปลาไหล และบางส่วนของตำบลตะเคียนเตี้ย
เทศบาลตำบลโป่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งทั้งตำบล
เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้วยใหญ่
เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลตะเคียนเตี้ย
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลาไหล (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางละมุงและเมืองพัทยา)
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาไม้แก้วทั้งตำบล
เมืองพัทยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรือ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ) ตำบลหนองปลาไหล (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางละมุงและองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล) ตำบลห้วยใหญ่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลห้วยใหญ่) และตำบลนาเกลือทั้งตำบล

หาดจอมเทียน

หาดจอมเทียน เป็นหาดทรายสวยงามทอดตัวเป็นแนวยาว อยู่ห่างจากพัทยาใต้ 4 กิโลเมตร ตามถนนเลียบชายหาดหรือแยกขวาจากถนนสุขุมวิท ตรงกิโลเมตรที่ 150.5 เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร หาดแห่งนี้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว จึงทำให้มีธุรกิจเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะ ธุรกิจ ที่พัก และ โรงแรมเป็นหาดยอดนิยม ของเมืองพัทยา
การเดินทาง
โดยรถส่วนตัว
จากกรุงเทพ ฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดชลบุรีได้ 4 เส้นทาง
ใช้เส้นทางสายบางนา-ตราด ทางหลวงหมายเลข 34 เข้าสู่จังหวัดชลบุรี
ใช้เส้นทางสายกรุงเทพฯ-มีนบุรี ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา-บางปะกง เข้าสู่จังหวัดชลบุรี
ใช้เส้นทางสายเก่า ถนนสุขุมวิท ทางหลวงหมายเลข 3 ผ่านจังหวัดสมุทรปราการ ไปจนถึงแยกอำเภอบางปะกง และให้แยกเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 34 ไปจนถึงจังหวัดชลบุรี
ใช้เส้นทางหลวงพิเศษ (MOTOR WAY) สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา
รถโดยสารประจำทาง
ขึ้นรถจากสถานีเอกมัย มีทั้งรถโดยสารแบบธรรมดา และรถโดยสายปรับอากาศ
รถไฟ
จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีบริการรถไฟไปจังหวัดชลบุรีทุกวัน วันละ 1 เที่ยว

เมืองพัทยา

พัทยา หรือ เมืองพัทยา เป็นเขตปกครองพิเศษเขตหนึ่ง (เทียบเท่าเทศบาลนคร) ในเขตจังหวัดชลบุรี จัดเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกโดยเฉพาะหาดทรายที่ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่งทะเล จัดได้ว่ามีความสวยงามอีกแห่งของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 140 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งพัทยาแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ พัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ และหาดจอมเทียน
ประวัติเมืองพัทยา
เริ่มรู้จักกันจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า 3 เดือน พระยาตาก (สิน) ขณะนั้นยังเป็นพระยากำแพงเพชร ลงความเห็นว่า หากกรุงศรีอยุธยายังต่อสู้กับพม่าอย่างอ่อนแอเช่นนี้ ต่อไปจะต้องสูญเสียกรุงให้พม่าอย่างแน่นอน พระยากำแพงเพชรจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกออกไปตั้งหลักใหม่ ให้มีกำลังทัพเข้มแข็งขึ้นค่อยกลับมากู้กรุงคืน พระยากำแพงเพชรได้เริ่มเคลื่อนทัพออกจากค่ายวัดพิชัยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สู้พรางร่นถอยหนีการตามล่า ของทหารพม่าไปพลาง จนกระทั่งเลยเข้าแขวงเมืองชลบุรี พระยากำแพงเพชรหยุดพักทัพที่บริเวณหน้าวัดใหญ่อินทารามในปัจจุบัน แล้วเดินทัพมุ่งตรงไปยังจันทบุรี ระหว่างทางได้พักที่บ้านหนองไผ่ ตำบลนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง ปัจจุบันอยู่ด้านหลังสถานีตำรวจภูธรพัทยา
ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเล่ม 2 กล่าวเอาไว้ว่า ขณะที่ นายกลม เป็นนายชุมนุมคุมไพร่ พลอยู่ที่นั่น ตั้งทัพคอยสกัดคิดจะต่อรองพระยากำแพงเพชรในตอนนั้นขึ้นช้างพลายถือปืนนกสับรางแดงพร้อม ด้วยพลทหารที่ร่วมเดินทางมาแห่ล้อมหน้าหลัง ตรงเข้าไปในระหว่างพวกพลนายกลมมาสกัดอยู่ ด้วยเดชะบาร มีบันดาลให้นายกลมเกิดเกรงกลัวพระเดชานุภาพวางอาวุธสิ้น พาพรรคพวกพลเข้าร่วมกองทัพกับพระยากำแพง เพชร จากนั้นพระยากำแพงเพชรก็น้ำทัพไปหยุดประทับ ณ สถานที่ที่มีหนองน้ำครั้งรุ่งขึ้น หรือวันอังคารแรม 6 ค่ำ เดือนยี่
นายกลมจึงนำไพร่พลหมี่นหนึ่งนำทัพไปถึง ณ ตำบลหนึ่ง และหยุดพักเสียหนึ่งคืน วันต่อมาจึงเดินทัพมาถึง นาจอมเทียนและทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ โดยหยุดพักแรมแห่งละคืน ต่อมาชาวบ้านก็เรียกตำบลนี้ว่า ทัพพระยา และเปลี่ยนมาเรียกใหม่ พัทธยา เนื่องจากเห็นว่าตรงบริเวณที่พระยาตากมาตั้งทัพนั้นทำเลดี และมีลมทะเลชื่อ ลมพัทธยา ซึ่งก็คือลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือในต้นฤดูฝน จึงเรียกสถานที่ แห่งนี้ว่า หมู่บ้านพัทธยา ต่อมาปัจจุบันคำว่า พัทธยา ได้เขียนใหม่เป็น พัทยา
อีกเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้พัทยาเป็นที่รู้จักไปทั่ว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2502 เมื่อมีรถบรรทุกขนาดใหญ่ของทหารอเมริกันประมาณ 4-5 คัน บรรทุกทหารเต็มคันรถ ประมาณคันละ 100 คน จากจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งที่นั่นมีฐานทัพของทหารอเมริกันอยู่ มุ่งมาสู่พัทยา และมาเช่าบ้านตากอากาศของพระยาสุนทร บริเวณตอนใต้ของหาด โดยผลัดกันมาพักผ่อนเป็นงวด งวดละสัปดาห์ จากพฤติกรรมของทหารอเมริกันเช่นนี้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นการท่องเที่ยวเมืองพัทยาตอนนี้เอง จากสภาพหมู่บ้านชายทะเลที่เงียบสงบ ก็พลันเปลี่ยนกลับกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศ
ในเวลาต่อมา หมู่บ้านพัทยาก็ถูกพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ในระดับนานาชาติ เป็นที่รู้จักไปทั่วทุกมุมโลก อย่างเช่นปัจจุบัน
สภาพอากาศ
ฤดูหนาว (เดือน พฤศจิกายน ถึง เดือน กุมภาพันธ์) - มีฝนตกปรอยๆ เป็นช่วงสั้นๆ ( เรียกว่า ฝนชะช่อมะม่วง) อากาศชื้นราว50% อุณหภูมิประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่อากาศดี เหมาะแก่การท่องเที่ยว และแนะนำผู้มาเยือนให้มา ในช่วงฤดูกาลนี้
ฤดูร้อน (เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เดือน พฤษภาคม) - มีฝนตกเป็นบางโอกาส อากาศชื้นประมาณ 75% อุณหภูมิประมาณ 30-40 องศาเซลเซียส ระวังพายุ ฟ้าคะนอง
ฤดูฝน (เดือน มิถุนายน ถึง เดือน ตุลาคม) - เป็นฤดูที่มีฝนติดต่อกันยาวนาน ประมาณ 90 % อุณหภูมิประมาณ 25-35 องศา
เซลเซียส
สถานที่ท่องเที่ยว

หาดพัทยา

พัทยาเหนือ
บริเวณพัทยาเหนือนั้นในอดีตเคยเป็นแหล่งชุมชนและอุตสาหกรรมมาก่อน อาชีพหลักของผู้คนแถบนี้คือ การทำนาเกลือและการประมง จึงทำให้มีบรรยากาศของความเก่าแก่หลงเหลืออยู่ บ้านเรือนโบราณ ถนนสายแคบๆ การเป็นอยู่แบบเรียบง่ายตลอดเส้นทางสายนาเกลือ-พัทยา จนถึงบริเวณวงเวียนปลาโลมาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนนเลียบชายหาดซึ่งยาวไปจนถึงพัทยาใต้ ในส่วนของพัทยาเหนือนี้แตกต่างจากบริเวณนาเกลือโดยสิ้นเชิง โรงแรมบ้านพักสถานบรรเทิง ร้านอาหาร ถูกสร้างขึ้นมากมายริมถนนเลียบชายหาดสายนี้ อีกทั้งสามารถเดินเล่นไปตามทางเท้าริมถนนเลียบชายหาดได้อีกด้วย ถนนพัทยาสายสองในส่วนของพัทยาเหนือนั้นมีสถานน่าสนใจมากมาย เช่น ทิฟฟานี่โชว์ อัลคาร์ซ่าคาบาเร่ต์ และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล

พัทยากลาง
พัทยากลางนั้นโรงแรมส่วนมากจะมีขนาดไม่ใหญ่มากแต่จะได้พบกับบาร์เบียร์ ร้านขายเสื้อผ้า และบาร์อะโกโก้มากมาย บริเวณถนนเรียบชายหาดมีสำนักงานตำรวจพัทยาและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รอยัลการ์เด้น พลาซ่า ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าหลักก็ตั้งอยู่พัทยากลางนี้เช่นกัน

พัทยาใต้
พัทยาใต้โค้งมากจากถนนเลียบชายหาด แถบนี้ถูกเรียกว่า วอล์คกิ้ง สตรีท เขตเดินเท้าบริเวณนี้มีร้านค้าเล็กๆ มากมาย ซึ่งบริการ ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายเครื่องกีฬา ร้านขายเครื่องประดับ และร้านขายของที่ระลึก ที่นี่ยังมีบาร์มากกมาย และยังมีร้านอาหารทะเล ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างยื่นลงไปในทะเลเพื่อเพิ่มบรรยากาศในการรับประทานอาหาร พัทยาใต้นั้นดูวุ่นวายกว่าส่วนอื่นๆ ของเมืองพัทยา ถนนอัฐจินดา สัญลักษณ์ของเขตแดนเมืองพัทยาใต้ เมื่อเดินไปตามซอยเล็ก ๆ ซึ่งจะนำทางสู่ถนนพระตำหนักซึ่งเป็นด้านหลังของพัทยาและนำไปสู่ ถนนพัทยาสายสอง

หาดจอมเทียน
หาดจอมเทียน ความยาว 6 กิโลเมตรของหาดจอมเทียนถูกแบ่ง จากส่วนอื่นๆในเมืองพัทยาด้วยเนินเขาด้านหลังของพัทยาใต้ เมื่อขับรถผ่านเนินเขา และผ่านพระพุทธรูปใหญ่ก็จะลงมาสู่หาดที่ค่อนข้างเงียบ ชายหาดนี้เป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของกีฬาทางน้ำ เนื่องจากพื้นที่แถวนี้มีอากาศที่บริสุทธิ์ ซึ่งถูกพัดมาจากอ่าวไทย และทะเลที่หาดนี้ยังมีความ คับคั่งของเรือน้อยกว่าที่อ่าวพัทยานอกจากนี้หาดจอมเทียนยังเป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจโดยการอาบแดด นอกจากนี้หาดจอมเทียนยังมีทางเล็กๆ ซึ่งมีแหล่งช็อปปิ้ง บาร์เบียร์ และยังมีโรงแรมที่มีหาดส่วนตัว บังกะโลคอมเพล็กซ์ คอนโดมิเนียม และร้านอาหาร

เกาะล้าน
เกาะล้าน อยู่ห่างชายฝั่งพัทยา 7 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร มีชายหาดที่สวยงามหลายแห่ง ส่วนใหญ่คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวที่มาเล่นน้ำ ดูปะการัง เล่นกีฬาทางน้ำ เช่น เรือลากร่มชูชีพ เรือสกี สกู๊ดเตอร์ โดยเฉพาะที่หาดตาแหวน หาดทองหลาง หาดนวล และหาดเทียน ส่วนหาดแสมบรรยากาศเงียบสงบกว่าหาดอื่น บริเวณเกาะล้าน และเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่รอบ ๆ เช่น เกาะครก และเกาะสากเป็นแหล่งตกปลาดำน้ำดูปะการัง ทั้งแบบน้ำลึกและน้ำตื้น และเป็นสถานที่ฝึกหัดเรียนดำน้ำ

เกาะสาก
เกาะสากเป็นเกาะขนาดเล็ก ห่างจากเกาะล้านไปทางทิศเหนือประมาณ 600 เมตร รูปร่างโค้งเป็นรูปเกือกม้าหงาย มีหาดทราย 2 หาดทางทิศเหนือและใต้ของเกาะ และมีแนวปะการัง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว
หมู่เกาะไผ่
เกาะไผ่จะอยู่ห่างจากชายฝั่งของเมืองพัทยา ประมาณ 23 กิโลเมตร และมีระยะทางที่ห่างจากเกาะล้านประมาณ 9.5 กิโลเมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีกีฬาทางน้ำ เช่น การดำน้ำดูปะการัง เป็นที่พักผ่อน หมู่เกาะไผ่ในปัจจุบันทางกองทัพเรือเป็นผู้ดูแลและพัฒนา

การเดินทาง
โดยรถยนต์ จาก อำเภอเมืองชลบุรี ตรงมาตาม ถ.สุขุมวิท ผ่าน อำเภอศรีราชาและ อำเภอบางละมุง ถนนเข้าสู่เมืองพัทยามีสามเส้นหลักๆ คือ ถ.พัทยาเหนือ อยู่ตรงหลัก กม.144 ถ.พัทยากลาง อยู่ประมาณหลัก กม.145-146 และ ถ.พัทยาใต้ หลัก กม.147 ทั้งสามเส้นจะไปพบกับถนเลียบชายหาดพัทยา
โดยรถประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางออกจากสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ สถานีขนส่งสายใต้ สถานีขนส่งเอกมัยและหมอชิตไปพัทยา
โดยรถไฟ จากกรุงเทพฯ มีบริการเพียงวันละหนึ่งเที่ยว ออกจากสถานีกรุงเทพฯ เวลา 06.55 น. ถึงสถานีพัทยาเวลา 10.45 น. เวลาเดินทาง 3 ชม. 40 นาที
โดยเครื่องบิน มีสนามบินอู่ตะเภาที่สัตหีบ และเที่ยวบินที่มีปัจจุบันเปิดบริการโดย สายการบิน Bangkok Airways ถึง และ จาก เกาะสมุย

งานและเทศกาล
เทศกาลดนตรีพัทยา หรือ พัทยา มิวสิก เฟสติวัล (Pattaya Music Festival) เป็นเทศกาลดนตรีประจำปีที่จัดขึ้นที่พัทยา โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ลักษณะตัวงานจะจัดในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี มีการแสดงของกลุ่มนักร้อง นักดนตรี ทั้งไทยและต่างประเทศ

Friday, March 7, 2008

Thai bar girls waiting for customers in Pattaya.


Thai bar girls near Walking Street in Pattaya

Pattaya Bargirls

Gogo bar

DOLL HOUSE DANCERS

dollhouse field ave AC

pattaya Dollhouse Four

pattaya soi two beer bar honey pot

Classroom Beer Bar

Dancing Ladies In FLB Bar Pattaya

wirral pattaya boys at Ma Mak Bar new plaza 3rd road pattaya


wirral sexy girls sexy girls sexy girls sexy girsexy girlsls sexy girls sexy girls

russian chicks in pattaya


russian girls in pattaya at club B52 on walking street. fireworks on the beach

Walking Street Pattaya russian and thai girls

walking street pattaya,sailor cam

Pattaya Walkingstreet / Walking Street Thailand

Tattoo Pattaya Thailand


13 crowns tattoo with joe one of the best tattooist in thailand. location walking street pattaya next 2 the russian bar

pattaya street views

Pattaya Bar Girls

Pattaya soi6 まだ昼間だよん。。。

Pattaya Thailand - The Place To BE!

Pattaya - Plating The arris


Jake Was Wondering How Much To Plate His Arris?

Pattaya soi 6


The famous short time street in Pattaya.

Pattaya, Thailand, The Extrem City


Pattaya, Thailand, views of the city, tours & Pattaya by night

Yodsanklai Knockout Fight in Pattaya Thailand


Here is the first round knockout of Yodsanklai's fight in Pattaya Thailand

Yodsanklai Knockout Fight in Pattaya Thailand


Here is the first round knockout of Yodsanklai's fight in Pattaya Thailand